ททท.สำนักงานสุรินทร์ ได้เปิดตัว 3 โครงการหลักในปี 2567 เพื่อเพิ่มรายได้และขยายวันพักผ่อน โดยการกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว และนำเสนอประสบการณ์การท่องเที่ยวในสองจังหวัดใต้ภาคอีสาน คือ สุรินทร์และศรีสะเกษ ในวันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ณ ห้องสยามมงคล โรงแรมทองธารินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ททท. สำนักงานสุรินทร์ ได้จัดกิจกรรมเพื่อชี้แจงทิศทางการตลาดและส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ ประจำปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์ให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวรับทราบถึงแนวทางส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวของททท. สำนักงานสุรินทร์ ประจำปีงบประมาณ 2567 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันของผู้ประกอบการและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาคธุรกิจการท่องเที่ยว (Stakeholder) ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
ททท.สำนักงานสุรินทร์ ในปีงบประมาณ 2567 นี้ มีแผนงาน โครงการด้านการส่งเสริมการตลาดหลักๆอยู่ 3 โครงการ
1. โครงการกินอย่างช้าง (Flagship Project)
เป็นโครงการหลักที่มีกลยุทธ์ภาพรวมในเรื่องการกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวกระแสหลัก โดยเน้นกลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้ชื่นชอบในการชิม การรับประทานอาหาร Food Lover / กลุ่มครอบครัวที่เดินทางตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ซึ่งเรียกว่า Muti Generation Family นอกจากนี้ ยังรวมถึงกลุ่ม Active Senior และ Gen Y ด้วย ส่วนสินค้าและกิจกรรมที่เสนอขาย
พื้นที่จังหวัดสุรินทร์ หลักๆ ก็จะเป็นเรื่องราวของช้าง ซึ่งจังหวัดสุรินทร์เป็นหมู่บ้านช้างเลี้ยงที่ใหญ่ที่สุดในโลก รวมถึงการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับช้าง ของจังหวัดสุรินทร์ เช่นการจัดงานมหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์ การจัดงานบวชนาคช้าง กฐินถิ่นช้างใหญ่รวมถึงการนำเสนอความโดดเด่นของประเพณี วัฒนธรรม อาหารพื้นถิ่น ผ้าไหม ข้าวหอมมะลิ
พื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ นำเสนอเรื่องรวมสินค้าที่เป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วโลก ก็คือทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ที่มีคุณลักษณะพิเศษ กรอบนอก นุ่มใน หวานน้อยละมุนลิ้นกลิ่นไม่ฉุน และนอกจากนี้ ยังมีสินค้าและบริการอีกหลายอย่างเช่น หอม กระเทียม ผ้าเบญจศรี สินค้า GI ศรีสะเกษ รวมถึงการนำเสนอความเป็น Sport City เมืองกีฬาต้นแบบ ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษ มีความพร้อมในการนำเสนอขายสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว ที่มีการเสนอความพร้อมในการเป็นเมือง 3 ธรรม ธรรมะ ธรรมชาติ และ วัฒนธรรม
ซึ่งคาดว่า โครงการฯจะสำเร็จตามเป้าหมายเกิดการรับรู้อย่างแพร่หลายพร้อมทั้งเกิดการบอกต่อประสบการการเดินทางท่องเที่ยว ผ่าน Social Media และการบอกต่อแบบ ปากต่อปาก ทำให้เกิดการรับรู้ในสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น
โครงการ ที่ 2 โครงการ We Love I-San @สุรินทร์-ศรีสะเกษ
โครงการนี้ มุ่งเน้นในเรื่องการเพิ่มและกระจายจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าสู่เมืองรอง ยกระดับสินค้า บริการทางการท่องเที่ยว ให้ได้มาตรฐาน สะดวก สบาย สะอาด ปลอดภัย และร้างการรับรู้สินค้าการท่องเที่ยว ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น นำเสนอผ่านช่องทาง Social Media ออนไลน์ ออฟไลน์ และสื่อต่างๆของพันธมิตรทางการท่องเที่ยว
โครการที่ 3. โครงการ 365 วัน Amazing ยิ่งกว่าเดิม In สุรินทร์ – ศรีสะเกษ
โครงการนี้ เน้นการกระตุ้นการเดินทางและการใช้จ่ายของกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ ขยายวันพักค้างที่เพิ่มขึ้น สร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม นำเสนอประสบการเดินทางท่องเที่ยว รวมถึงการที่ได้ให้นักท่องเที่ยวได้ค้นหาและร่วมออกเดินทางด้วยตัวเองตลอดทั้งปี
นอกจากนี้ ทาง ททท.สำนักงานสุรินทร์ ยังได้เชิญผู้ประกอบการภาคเอกชน ร่วมนำเสนอนำเสนอทิศทางการบูรณาการความร่วมมือทางการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ ดังนี้
นางรัชนก วงศ์อารีย์สันติ นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ กล่าวถึง ความพร้อมของผู้ประกอบการท่องเที่ยวในจังหวัดสุรินทร์
นายวีรศักดิ์ พิษณุวงษ์ ประธานหอการค้าจังหวัดสุรินทร์ กล่าวถึง การยกระดับสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวสู่ทิศทางการค้าในอนาดต
นางสาวขวัญทวี ไทยยิ่ง ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ กล่าวถึง ศักยภาพสินค้าท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์ของพื้นที่จังหวัดสุรินทร์
นางวาสิตา น้อยพรหม ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สทท.) กล่าวถึง การมีส่วนร่วมกระตุ้นการท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ
นายสุแทน สุขจิตร ผู้ประกอบการ แซตอม ออร์แกนิค ฟาร์ม นำเสนอ การนำเรื่องราวการยกระดับอาหารสู่การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่
นายจักรพงษ์ ส่วนบุญ ผู้ประกอบการ ร้านบารมีบีฟ Baramee beef นำเสนอ การนำเรื่องราวอาหาร เนื้อวากิวสุรินทร์
สอบถามข้อมูลทางดารท่องเที่ยว จังหวัดสุรินทร์-ศรีสะเกษ ได้ที่ ททท.สำนักงานสุรินทร์ โทร 044514447-8 หรือ facebook.com/tatsurin